วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551

โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser)

โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser)
โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ โปรแกรม Microsoft Internet Explorer (IE) และโปรแกรม Netscape Navigator
สำหรับคอมพิวเตอร์พีดีเอและโทรศัพท์มือถือ เรียกว่า ไมโครเบราว์เซอร์ (microbrowser) บางครั้งก็เรียกว่า มินิเบราว์เซอร์ (minibrowser)
ข้อมูลที่แสดงบนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ จะมีลักษณะคล้ายหน้าเอกสาร เรียกว่าเว็บเพจ (Web page) โดยหน้าแรกของเว็บเพจจะเรียกว่า โฮมเพจ (home page)
การเข้าไปยังเว็บเพจของเว็บไซต์ใด ๆ ผู้ใช้จะต้องระบุที่อยู่ (Web address) โดยใช้ uniform resource location หรือ URL เพื่อชี้ไปยังตำแหน่งของ แหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต บริษัทและองค์การต่าง ๆ นิยมกำหนดชื่อ URL ให้เด่นและจดจำง่าย เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ชื่อเว็บไซต์ทางสื่อต่าง ๆ
URL โดยทั่วไปมีรูปแบบและส่วนประกอบดังนี้
Protocol://domain name/path/
ตัวอย่างเช่น
(1) http://www.siam.edu
โพรโตคอลคือ http ซึ่งย่อมาจาก hypertext transfer protocol, ชื่อโดเมนคือ www.siam.th.edu
(2) http://tpt.nectec.or.th/Project/Nsc/Nsc.htm
โพรโตคอลคือ http, ชื่อโดเมนคือ tpt.nectec.or.th, ชื่อโฟลเดอร์คือ projects/Nsc และชื่อแฟ้มคือ nsc.htm
(3) ftp://bc.siamu.ac.th
โพรโตคอลคือ ftp ซึ่งย่อมากจาก file transfer protocol, ชื่อโดเมนคือ bc.siamu.ac.th
ในการพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์ ผู้ใช้สามารถละ http:// และ www ได้ เช่น เว็บไซต์ http://www.google.co.th สามารถพิมพ์เพียง google.co.th เท่านั้น

โปรแกรมค้นดูเว็บ หรือ เว็บเบราว์เซอร์ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนสื่อในการติดต่อกับเครือข่าย หรือ เน็ตเวิร์คขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

โปรแกรมค้นดูเว็บเชื่อมโยงกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านมาตรฐานหรือโปรโตคอลแบบ เอชทีทีพี (HTTP) ในการส่งหน้าเว็บ หรือเว็บเพจ ปัจจุบันเอชทีทีพีรุ่นล่าสุดคือ 1.1 ซึ่งสนับสนุนโดยโปรแกรมค้นดูเว็บทั่วไป ยกเว้นอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ที่ยังสนับสนุนไม่เต็มที่
ที่อยู่ของเว็บเพจเรียกว่ายูอาร์แอล (URL) หรือยูอาร์ไอ (URI) ซึ่งรูปแบบมักจะเริ่มต้นด้วยคำว่า http:// สำหรับการติดต่อแบบเอชทีทีพี โปรแกรมค้นดูเว็บส่วนมากสนับสนุนการเชื่อมต่อรูปแบบอื่นนอกจากนี้ เช่น ftp:// สำหรับเอฟทีพี (FTP) https:// สำหรับเอชทีทีพีแบบสนับสนุนการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น
รูปแบบของไฟล์สำหรับเว็บเรียกว่าเอชทีเอ็มแอล (HTML) และสนับสนุนไฟล์รูปแบบอื่นๆ เช่น รูปภาพ (JPG, GIF, PNG) หรือเสียง

รายชื่อโปรแกรมค้นดูเว็บที่เป็นที่นิยม
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer) โดยบริษัทไมโครซอฟท์
มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) โดยมูลนิธิมอซิลลา
เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator) โดยบริษัทเน็ตสเคป
ซาฟารี (Safari) โดยบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์
โอเปร่า (Opera) โดยบริษัทโอเปร่า ประเทศนอร์เวย์
สำหรับรายชื่อโปรแกรมค้นดูเว็บทั้งหมด ให้ดูรายชื่อเว็บเบราว์เซอร์

เครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
ลำดับตามความนิยม
สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
กูเกิล (Google) 36.9%
ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%
นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
เอโอแอล (AOL Search)
อาส์ก (Ask)
เอ 9 (A9)
ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น