วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

โครงงาน กระดาษจากใยกล้วย

กระดาษจากใยกล้วย
ที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากโรงเรียนบ้านพระเพลิงเป็นโรงเรียนขยายโอกาสขนาดใหญ่ พื้นที่ของโรงเรียนด้านหลังใช้เป็นพื้นที่การเกษตรสำหรับปลูกผักสวนครัวรวมทั้งพืชต่างๆ อันประกอบด้วย ไผ่ และกล้วย ซึ่งคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นประโยชน์ของต้นกล้วย คือ เมื่อกล้วยแก่เต็มที่จนสามารถเก็บผลได้แล้ว ส่วนอื่นๆของต้นกล้วยก็จะถูกตัดทิ้งโดยไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดขยะเหลือใช้ อีกทั้งขยะที่มาจากกระดาษเหลือใช้ซึ่งมีจำนวนมากก่อให้เกิดมลภาวะของโรงเรียน สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีแนวความคิดว่าหากนำส่วนต่างๆของต้นกล้วยมาแปรรูปเป็นกระดาษต่างๆในลักษณะเดียวกับกระดาษสาโดยจะผสมกับกระดาษใช้แล้ว จะสามารถลดปริมาณขยะที่มาจากกระดาษ นำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า รวมทั้งสามารถนำส่วนประกอบของต้นกล้วยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ด้วย

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของกระดาษจากใบกล้วยและต้นกล้วย
2.เพื่อศึกษาอัตราส่วนของลำต้นกล้วยต่อกระดาษเหลือใช้ ที่ทำให้กระดาษใยกล้วยมี
คุณภาพดีที่สุด
สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
1. กระดาษจากลำต้นกล้วยมีคุณภาพดีที่สุด
2.อัตราส่วน ลำต้นกล้วย ต่อ กระดาษเหลือใช้ เป็น 2 ต่อ 1 มีคุณภาพดีที่สุด
3.อัตราส่วน ลำต้นกล้วย ต่อ กระดาษเหลือใช้ เป็น 4 ต่อ 1 มีคุณภาพดีที่สุด
4.อัตราส่วน ลำต้นกล้วย ต่อ กระดาษเหลือใช้ เป็น 6 ต่อ 1 มีคุณภาพดีที่สุด
5.อัตราส่วน ลำต้นกล้วย ต่อ กระดาษเหลือใช้ เป็น 8 ต่อ 1 มีคุณภาพดีที่สุด
6.อัตราส่วน ลำต้นกล้วย ต่อ กระดาษเหลือใช้ เป็น 10 ต่อ 1 มีคุณภาพดีที่สุด
การกำหนดตัวแปร
- เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของกระดาษจากใบกล้วยและต้นกล้วย
ตัวแปรต้น ส่วนประกอบของต้นกล้วย คือ ใบ และ ลำต้น
ตัวแปรตาม คุณภาพของกระดาษใยกล้วย
ตัวแปรควบคุม ปริมาณใบและลำต้น ปริมาณของกระดาษเหลือใช้ที่ผสม ชนิด
ของกระดาษ ระยะเวลาในการต้ม ระยะเวลาในการตากกระดาษใย
กล้วย ขนาดของตะแกรงร่อน ปริมาณน้ำ ปริมาณโซเดียม
ไฮดรอกไซด์
- เพื่อศึกษาอัตราส่วนของต้นกล้วยต่อกระดาษเหลือใช้ ที่ทำให้กระดาษใยกล้วยมีคุณภาพดีที่สุด
ตัวแปรต้น ปริมาณของลำต้นกล้วย
ตัวแปรตาม คุณภาพของกระดาษใยกล้วย
ตัวแปรควบคุม ปริมาณของกระดาษเหลือใช้ที่ผสม ชนิดของกระดาษเหลือใช้
ระยะเวลาในการต้ม ระยะเวลาในการตากกระดาษใยกล้วย ขนาด
ของตะแกรงร่อน ปริมาณน้ำ ปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์
นิยามเชิงปฏิบัติการ
คุณภาพของกระดาษ หมายถึง กระดาษใยกล้วยมีความคงทน เหนียว ไม่ฉีกขาดง่าย สีสันสวยงาม ไม่ซีดจาง ดูดซึมน้ำได้น้อย
กระดาษเหลือใช้ หมายถึง กระดาษที่ใช้แล้ว สีขาว นำมาแช่น้ำแล้วปั่นให้ละเอียด
กระดาษใยกล้วย หมายถึง กระดาษที่ได้จากการนำส่วนประกอบของต้นกล้วย คือ ใบ และ ลำต้น มาปั่นรวมกับกระดาษแล้วตากแดดให้แห้งโดยการร่อนบนตะแกรง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ลดปริมาณขยะที่เกิดจากกระดาษ
2.สามารถนำส่วนของต้นกล้วยมาใช้ให้เกิดประโยชน์
3.สามารถประดิษฐ์กระดาษนำมาใช้ห่อของขวัญต่างๆ หรือใช้ประโยชน์ดานต่างๆได้เอง

โครงงานประดิษฐ์ดอกไม้

โครงงานประดิษฐ์ดอกไม้
ที่มาและความสำคัญในปัจจุบันธุรกิจหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ ส่งเป็นสินค้าออกเป็นที่ยอมรับของบุคคล ๆทั่วไป คือ สินค้าประเภทดอกไม้ประดิษฐ์ ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์ สามารถนำวัสดุมากมายหลายชนิด หลากหลายสี มาประดิษฐ์ เช่น กระดาษ ผ้า พลาสติก โดยมีจุดประสงค์เพื่อการตกแต่งสถานที่ หรือโต๊ะทำงานให้เกิดความสวยงาม และนอกจากนี้ยังสามารถนำดอกไม้ประดิษฐ์จัดเป็นกระเช้าเพื่อมอบเป็นของขวัญหรือเป็นที่ระลึกให้กับบุคคลที่ เรารักและเคารพในโอกาสต่าง ๆ ๆด้เป็นอย่างดีในการประดิษฐ์ดอกไม้นอกจากจะนำเอาวัสดุที่กล่าวมาข้างต้นมาประดิษฐ์ ยังมีวัสดุชนิดหนึ่งที่นำมาประดิษฐ์ดอกไม้ได้ ซึ่งมีหลากหลายสี เพิ่มความสวยงามได้เป็นอย่างดี นั่นคือ ถุงน่องสี ถุงน่องสีเป็นวัสดุที่คนไทยนิยมนำมาประดิษฐ์ดอกไม้เพื่อสร้างรายได้และสามารถนำมาประดับตกแต่งเพื่อให้เกิ ดความสวยงามและนอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในด้านความคงทนได้ ยืดหยุ่นได้ ไม่แตกหักดังนั้นจึงนำถุงน่องสีมาประดิษฐ์ดอกไม้เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการประดิษฐ์ดอกไม้และสามารถนำความร ู้ไปปฏิบัติเพื่อเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับตัวเองและปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อฝึกให้นักเรียนมีทักษะในการประดิษฐ์ดอกไม้
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถประดิษฐ์ดอกไม้จากถุงน่องได้
อุปกรณ์
1. ถุงน่องสีต่าง ๆ
2. ลวดสีต่าง ๆ
3. กาว
4. กระดาษทิชชู
5. ด้าย
6. ฟลอร่าเทป
7. ท่อพลาสติก
8. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีลักษณะกลมขนาดแตกต่างกัน เช่น ปากกา หลอดนม
ระยะเวลาดำเนินการ
วันที่
ขั้นตอนการประดิษฐ์
การทำกลีบดอก
1. ตัดลวดให้มีขนาดพอเหมาะกับวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการขดลวด
2. ขดลวดกับอุปกรณ์ คือ ท่อพลาสติก หรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะกลม ขนาดตามความต้องการของเรา
3. ตัดถุงน่องเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้สามารถหุ้มขดลวดที่ขดเตรียมไว้
4. นำถุงน่องที่ตัดแล้วมาเข้ากลีบโดยนำมาหุ้มขดลวด ดึงให้ตรึงและรัดด้วยด้ายให้แน่น ปฏิบัติจนครบ 1 ดอก
การเข้ากลีบดอก
1.นำกลีบดอกที่เตรียมไว้แล้วมาเข้าดอก โดยใช้เกสรสีต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งการเข้าดอกสามารถนำกลีบดอกมาเข้าตามความเหมาะสม เช่น 4 กลีบ 6 กลีบ 8 กลีบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของกลีบและความสวยงาม
2. การเข้ากลีบดอกละกลีบดอกจะต้องรัดด้วยด้ายให้แน่นทุกกลีบและเข้ากลีบลักษณะสับกลีบเพื่อให้เกิดความสวยงาม
3. ดัดกลีบดอกตามลักษณะที่เราต้องการ หรือตามลักษณะของดอกไม้
4. พันโคนกลีบดอกด้วยฟลอร่าเทปการทำใบ1. ตัดลวดสีเขียวหรือสีที่เราต้องการให้มีขนาดพอเหมาะหรือครึ่งหนึ่ง2. ขดลวดเข้ากับอุปกรณ์ที่มีลักษณะกลมเล็ก ๆหลาย ๆ รอบ แล้วดึงออก เส้นลวดที่ได้จะมีลักษณะหยัก จากนั้น ขดให้เป็นวงกลม3. ตัดถุงน่องสีเขียวให้มีขนาดพอเหมาะกับขดลวด สามารถห่อหุ้มขดลวดได้4. นำถุงน่องมาห่อหุ้มขดลวด ดึงให้ตึงและรัดด้วยด้ายให้แน่น จัดทำใบให้พอดีกับการเข้าช่อของดอกไม้5. พันโคนใบด้วยฟลอร่าเทป
การเตรียมก้าน
1. เตรียมลวดที่มีขนาดพอเหมาะไม่แข็งเกินไป ที่สามารถดัดได้
2. ตัดลวดให้มีความยาวพอเหมาะกับช่อที่เราต้องการ
3. เสริมลวดด้วยกระดาษทิชชู
4. พันด้วยฟลอร่าเทป
การเข้าช่อ
1. นำดอกไม้ที่เป็นรูปสำเร็จแล้วมาเข้าช่อ โดยจัดเข้าช่อตามความเหมาะสมพร้อมรัดด้วยด้ายให้แน่นเสมอ2. นำใบที่จัดเตรียมไว้แล้วเข้าช่อ จัดตามความเหมาะสม รัดด้วยด้ายให้แน่น
3. พันด้วยฟลอร่าเทป
ผลการศึกษา
ถุงน่องสีสามารถนำมาประดิษฐ์ดอกไม้ได้เป็นอย่างดีและมีความสวยงามไม่แพ้วัสดุ อุปกรณ์ชนิดอื่น ๆและนักเรียนสามารถจัดทำดอกไม้ประดิษฐ์จากถุงน่องได้โดยสามารถทำกลีบดอก ใบ และจัดเข้าช่อได้อย่างสวยงาม
สรุปผลการศึกษา
ดอกไม้ประดิษฐ์ที่เกิดจากการนำถุงน่องสีต่าง ๆ มาประดิษฐ์ตามขั้นตอนสามารถจัดทำกลีบดอกได้หลากหลายรูปแบบ เช่น กลีบเป็นวงกลม กลีบเป็นวงรี กลีบมีลักษณะแหลม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเรา หรือ จัดให้เหมือกลีบดอกไม้ตามธรรมชาติ การเข้าดอกสามารถนำกลีบดอกที่จัดเตรียมไว้มาเข้าดอกได้ตามความเหมาะสม เช่น 4 กลีบ 6 กลีบ 8 กลีบ

โครงงาน

โครงงานภาษาไทย เรื่อง นิทานพื้นบ้าน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ผู้แต่ง : นางเจียม สายกระสุน บ้านอันซอง นางพรม แสนกล้า บ้านถนนสำ โรง นางเกตุ แสงสุขใส บ้านหนองกระดาน ที่มา : จากการเล่าสืบต่อกันมาของบรรพบุรุษในสมัยโบราณ คณะผูจั้ดทำ ได้ทำ โครงงานเรื่องนิทานพื้นบ้าน ก็เพื่อเข้าใจในเนื้อหานิทาน มากขึ้น อีกทั้งเป็นการรักษาสมบัติของชาติ คือ นิทานพื้นบ้านคงอยู่ กับเยาวชนรุ่นหลังต่อไปอีกด้วย
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษานิทานพื้นบ้านให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ๒. เพื่อช่วยกันรักษาวัฒนธรรมประเพณีให้คงอยู่ต่อไป ๓. เพื่อจัดทำ หนังสือนิทานเพื่อให้เป็นรูปเล่ม
ขอบเขตของการศึกษา
ศึกษาหนังสือนิทานในห้องสมุดโรงเรียน และได้ทราบจากผู้เฒ่า คนแก่ ภายในหมู่ บ้านอันซอง บ้านถนนสำ โรง และบ้านหนองกระดาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ได้สมุดนิทาน ๑ เล่ม ๒. ได้วิธีการค้นหา และการจัดกลุ่มเพื่อนำ เสนอนิทาน ๓. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับนิทานต่าง ๆ เกี่ยวกับคติสอนใจ ๔. ได้รับความรับผิดชอบกันภายในกลุ่มเพื่อน ๕. ได้ความรู้และความสนุกสนาน

บทที่๒
เอกสาร
๑. ศัพท์ที่ควรทราบ (เรียงตามลำ ดับเนื้อหา)
อันซาย หมายถึง กระต่าย ตะนอด หมายถึง ต้นตาล ซาเมา หมายถึง หญ้า อันเดอ หมายถึง เต่า ร้วดแข่ง หมายถึง วิ่งแข่ง เด๊ก หมายถึง นอน ชะเนีย หมายถึง ชนะ จ๊าย หมายถึง แพ้ โล๊วะ หมายถึง หลับ ตูมเรอย หมายถึง ช้าง คลา หมายถึง เสือ ซวา หมายถึง ลิง สัด หมายถึง สัตว์ โกนจ๊าบ หมายถึง นก โป้วะ หมายถึง งู รันเตี้ยบั๊ย หมายถึง ฟ้าผ่า เมี้ยกทะลิบ หมายถึง ฟ้าทะลัม ยี่ราฟ หมายถึง ยี่ราฟ เพชร หมายถึง ตกใจ ซะแร้ก หมายถึง ร้อง แซ็ะ หมายถึง ม้า
มางัย หมายถึง วันหนึ่ง กึดเตวมุน หมายถึง คิดไปก่อน มันเดงเรือง หมายถึง ไม่รู้เรื่อง เลิน ๆ หมายถึง เร็ว ๆ ปะจี๊ หมายถึง ถูกด่า เมื๊น หมายถึง ไก่ ซาลา หมายถึง ศาลา อั้ยเมื้น หมายถึง ขี้ไก่ ซะกอน หมายถึง นํ้าตาล กะหัก หมายถึง โกหก ลู๊ก หมายถึง พระ เวื้ด หมายถึง วัด นี่น หมายถึง เณร ฉลาด หมายถึง ฉลาด จองเชนี้ยะ หมายถึง อยากชนะ มานือโง่ หมายถึง คนโง่ จูด หมายถึง เช็ด สันดาน หมายถึง อุปนิสัยที่มีมาแต่กำ เนิด เห้าโมรัว หมายถึง เรียกมาพบ โมทา หมายถึง มา ด่า ว่า เทอโทด หมายถึง ทำ โทษ ยัววิง หมายถึง เอาคืน ซะออฟ หมายถึง เกลียด

๒. โครงงาน
๒.๑ ความหมาย แผนหรือเค้าโครงที่กำ หนดไว้ ๒.๒ ประเภท ๑. โครงงานประเภทสำ รวจและรวบรวมข้อมูล โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่มีวัตถุ ประสงค์เพื่อการสำ รวจ และรวบรวมข้อมูลจาการสำ รวจนั้นมาจำ แนกเป็นหมวดหมู่ และ นำ เสนอในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีระบบ เพื่อให้เห็นถึลักษณธหรือความสำ คัญของเรื่องดัง กล่าวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การปฏิบัติตามโครงงาน นี้ผู้เรียนจะต้องไปศึกษารวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น สอบถาม สัมภาษณ์ สำ รวจ โดยใช้เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม แบบสำ รวจ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก ฯลฯ โดยรวบรวม ข้อมูลที่ต้องการศึกษา ๒. โครงงานประเภทค้นคว้าทดลอง โครงงานประเภทนี่เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดย เฉพาะ การออกแบบโครงงานในการทดลองเพื่อเสนอความรู้ ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีใครคิดมาก่อน หลักหรือแนวคิดที่ต้องเสนอต้องผ่าน การพิสูจน์อย่างมีหลักการ ๓ . โครงงานเป็นการศึกษาความรู้ ทฤษฎีหลักการแนวคิดใหม่ โครงงานประเภทนี้เป็นโครงง งานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ทฤษฎี หลักการแนวคิดใหม่ เกี่ยวกับเรื่องใด เรื่องนึ่ง ที่ยังไม่มีใครคิดมาก่อนหรือวิธีการที่น่าเชื่อถือตามกติกาาตามข้อที่กำ หนดขึ้นเอง หรืออาจ ใช้กติกาหรือข้อตกลงเดิมมาอธิบายข้อความรู้ ทฤษฎีหลักการและแนวคิดใหม่ก็ได้ ๔. โครงงานประดิษฐ์ โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์คือการนำ ความรู้ทฤษฎีหลักการหรือแนว คิดมาประยุกต์ใช้ โดยการประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการ เรียน การทำ งานหรือการใช้สอยอื่น ๆ การประดิษฐ์คิดค้น ตามโครงงานนี้อาจเป็นการ ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่โดยยังไมี่ใครทำ หรืออาจเป้นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลง ของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่เป็นอยู่ รวมทั้งการสร้างแบบจำ ลองต่าง ๆ เพื่อประกอบการอธิบายแนวคิดในเรื่องต่าง ๆ โครงงานที่ประดิษฐ์คิดค้นที่จะต้องครอบ คลุมเรื่องต่าง ๆ ทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา สังคม อาชีพ สิ่งแวด

บทที่ ๓
วิธีการศึกษาค้นคว้า
ศึกษานิทานจากนั้นแล้วก็เขียนคำ ศัพท์ ภาษาเขมร แปลเป็นภาษาไทย และอ่านความรู้ ประกอบเพิ่มเติมให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการดำ เนินงาน
๑. กำ หนดวิธีการและรวบรวมข้อมูลในเรื่องของนิทาน ๒. แบ่งงานกันในกลุ่ม ๓. ดำ เนินการจัดการวาดรูปตัวการ์ตูนต่าง ๆ ๔. นำ นิทานที่รวบรวมได้มารวมกัน จัดกลุ่มนิทาน และจัดเป็นสมุดนิทานพร้อมทั้ง ตรวจสอบ ความถูกต้อง ๕. การนำ เสนอโดยการจัดแสดงสมุดนิทานและประกอบการอธิบาย ประวัติโครงการ
ลำ ดับที่ รายการปฏิบัติ วิธีการ กำ หนดเวลา ผู้รับผิดชอบ
รวบรวมนิทานวาดรูปนิทานเรื่อง ต่าง ๆ นำ นิทานที่ได้มารวมกันแล้วจัด กลุ่มนิทาน จัดทำ รายงานโครงงาน เตรียมนำ เสนอ นำ เสนอ - สอบถามคนใน หมู่บ้าน - คิดเรื่องที่ได้นำ มาวาดภาพ ทุกคน โนรี ทุกคน ทุกคน เยาวลักษณ์ วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา เครื่องเขียน เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา

บทที่ ๔
ผลการศึกษาค้นคว้าและอภิปราย
มีรายละเอียดดังนี้
ผลการศึกษาค้นคว้าได้นิทนพื้นบ้าน 3 เรื่อง จาก 3 หมู่บ้าน คือ บ้านอันซอง , บ้านถนน, บ้านหนองกระดาน
๑. กระต่ายกับเต่า ณ. ป่าใหญ่แห่งหนึ่งมีกระต่ายกับเต่าคู่หนึ่งได้ท่าแข่งขันกันเพราะกระต่ายคิดว่าเต่า นั้นเดินช้าไม่สามารถที่จะวิ่งแข่งได้ชนะนเองหรอก พอรุ่งเช้าก็ได้ไปที่จุดเริ่มต้นโโยมีสัตว์ทั้ง หลายเป็นกรรมการตัดสิน เมื่อเริมแข่งกระต่ายก็นำ เต่าอยู่ไกลมาก จึงนอนพักใต้ต้นไม้ เพราะ คิดว่าอีกไกลที่เต่าจะมาถึงตนจึงหลับไปเวลานานสมควรกระต่ายก็ตื่นขึ้นมาและก็ได้เดินต่อไป โดยไม่รู้เลยว่าขณะที่มันหลับอยู่ เต่าได้วิ่งไปจนถึงเส้นชัยแล้ว และเมื่อกระต่ายไปถึงเส้นชัยก็ ได้พบว่าเต่าอยู่ตรงเส้นชัยแล้ว และการแข่งขันครั้งนี้เต่าก็เป็นผู้ชนะ
๒. กระต่ายตื่นตูม ณ ป่าแห่งหนึ่งมีกระต่ายตัวหนึ่งงนอนอยู่ใต้ต้นตาลนอนอยู่สักพักก็มีลูกตาลตกมาสู่ พื้นเสียงดังมาก กระต่ายตื่นขึ้นมาตกใจอย่างมากและคิดว่าฟ้าถล่ม จึงรีบวิ่งไปบอกสัตว์ป่าทั้ง หลาย ให้ออกไปจากป่าโดยเร็ว ทั้งก็ได้วิ่งออกไปอย่างรวดเร็ว โดยคิดว่าที่กระต่ายพูดนั้นเป็น ความจริง พออยูสั่กพักก็ไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ก็เกิดอาการแปลกใจอย่างมาก แล้วสัตว์ป่า ก็พากระต่ายไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ ก็ปรากฏว่าเห็นลูกตาลตกใกล้ที่พักของกระต่าย สัตว์ ป่าทั้งหลายก็โกรธกระต่ายมาก และก็ไม่มีใครเชื่อกระต่ายอีกต่อไป เรื่อง กระต่ายตื่นตูม เริงอันซายปะเออล เมียนโดปะมาโดปะ เมียนอันซายเนอวมาตู เดดเนอวกรอมดอมตะนอด เดดเนอว บานเดาะเมียนโกน ตะนอดเลียะอะดอยสะเลงคลัง อันซายกรอพีเดด ก็เพ็ดคลัง ๆ กึดถ่ามีตน องถะเลียะ เลยร่วดเตอวปราบสัตว์โดปะตองเอาะ ออยเจงปีโดปะเลิน ๆ ตองเอาะเลยร่อดเจงปี โดปะเลิน ๆ สัตว์โดปะกึดท่าแด่อันซอย ยอยกอดเรื่องเมนเตน พอเนอวบานมาเตาะเกาะ มันเมียนสาเดอย ก็เลยแปลกจอดคลัง ๆ จูบสัตว์โดปะก็ เนอมอันซายโดปะ เมอบอนเกิดเหต ถ้าเวียเกดสะเดอย ปรากดถ้าเขยผะแล โดงทะเลียะเนอว บอนอันซายเดด สัตว์โปะตั้งเลอะ ขอองอันซายคลัง ๆ จูยก้อมันเมียนอาราเจออันซายนะแต๊ก
๓. สมภารกับไก่วัด ณ วัดแห่งหนึ่งมีเณรกับหลวงพ่อทุก ๆ เช้า ก็จะไปบิณฑบาตรพอตอนกลับหลวงพ่อ เดินผ่านมาศาลาวัดพอดีก็พบไก่อยู่บนศาลาและไก่ก็ขี้บนศษลา หลวงพ่อโกรธเณรมากที่ไม่ ยอมไล่ไก่จึงเรียกเณรมาพบและต่อว่าทำ ไมไม่ไล่ไก่ และลงโทษให้เณรเช็ดขี้ไก่ให้หมด เช้า วันต่อมาเณรเกิดอยากที่จะแก้แค้นหลวงตา จึงคิดแผนว่าจะเอานํ้าตาลแดงคนให้ละลาย และ เอาไปหยดตามพื้นศษลา และพอหลงตาเดินผ่านก็ทำ เป็นเลียนํ้าตาที่หยดเอาไว้ หลวงตาจึง ถามว่า “เณรแกทำ อะไร” เณรตออบว่า “ฉันกำ ลังเลี่ยไก่” เพราะขี้ไก่มันหวานดีหลวงตา จึง เลียดูบ้างและก็ติดใจ และวันต่อมาหลวงตาพูดว่า “วันนี้ไม่ต้องกวาดเอง” พ่อเณรไปพ้น หลวง ตาก็จัดการเลียขี้ไก่ทั้งหมดทันที่ พอเณรรู้ก็สะใจมาก นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด เวี๊ยดมุ๋ยเมียนนี๋นเนื่องลูกเอาะกรบปารึกเนื๋องเต้วกูมบาตร เวียเสียล๋อมลูกเอาะผ่านโมบ้างศาลาเวี้ยดพอเจียเคยเมือน แน๋วเล้อศษลาเวียจุ๋ยเล้อศาลา ลูกเอาะจะเบอะนี๋นขล้างเต๋น วันยอมแด้งเมือน เลยออยโทษนี๋นจูดอั๊ยเมือนออยมอด ปารึกวัยต่อโมนี๋นเกิดจองเนื่องแก้แค้นลูกเอดาะขละ เลยกึ๋ดแผนทายั๋วซากอนกอนกาห้อมโกรออยสาเลียยั๋วเต้วเซราะ กะดานศาลา พอลูกเอดาะเตินผ่านโมก็เทอร์ดิลิตรซากอนแตนเซราะตุก ลูกเอลาะก็เลยตาแน่ว ทา นี๋นะเอวเทอร์เอ้อ นั้นตอบทา มาดลิตรอั๋ยเมือน ปารั๋วเวียปาแอมลูกเอราะจองลิตรขละนะ ลูกเอราะ เลยลิตรมื๋อขละก็เลยเจียบเจิ้ด พอวัยต่อโมลกเอราะอันเยียทาวัยเน้อมันบะบอเวี้ยดเต ลูกเอราะเน้อบอแอง พอนี๋นเต้วพ๋อดลูกเอราะก็จัดการลิตรอั๋วเมือนต๋องมอดเล้อ พอน๋นเต๋งก็ สะเจี๋ยดอย่างขล้าง
บทที่ ๕
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
จากการศึกษาค้นคว้าสามารถสรุปได้ว่าการศึกษา เรื่องนิทานพื้นบ้าน โดยการหา ความหมายของคำ ศัพท์ตามลำ ดับเนื้อหา จากการศึกษานิทานพื้นบ้าน ประวัติผู้แต่ง และแปล ความหมายจากภาษาเขมรเป็นภาษาไทยได้ และอ่านความรู้เพิ่มเติม จากหนังสือนิทานพื้นบ้าน ประกอบภาพจำ นวน 1 เล่ม ประโยชน์ที่ได้รับ
๑. ทำ ให้ทราบ ความเป็นมาของนิทานพื้นบ้าน และเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ๒. ทำ ให้ทราบ คำ ศัพท์ ภาษาเขมร อีกหลายคำ
ข้อเสนอแนะ
๑. ควรเสนอขยายการศึกษา ค้นคว้าโดยการศึกษา เรื่องราวที่เป็นลักษณะคำ ประพันธ์ หรือร้อยกรองก็ได้ ๒. สามารถนำ มาทดสอบปรับปรุงแก้ไข จนสามารถนำ มาใช้ในการเรียน วิชาภาษาไทย