วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บัลเล่ต์,โอเปร่า,ละครบรอดเวย์

บัลเล่ต์
บัลเล่ต์-ประวัติ การเต้นรำเพื่อความบันเทิง เฟื่องฟูช่วงปลายศตวรรษที่ 15-16 ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าการแสดงโลดโผน ละครใบ้ บทสนทนา และบทเพลงผสมผสานกัน มีจุดประสงค์รับใช้ราชสำนักเป็นหลัก ประชาชนเป็นรอง สำหรับบัลเล่ต์เป็นศิลปะการเต้นรำที่พระนางแคเธอรีนแห่งเมดีซี (Catherine de Medici) นำไปพัฒนาที่ฝรั่งเศส เมื่อพระนางอภิเษกกับกษัตริย์อองรีที่ 2 ในตอนนั้นการแสดงบัลเล่ต์กินเวลานานกว่า 5 ชั่วโมง บัลเล่ต์ทำให้สตรีในราชสำนักมีโอกาสร่วมเต้นรำด้วย หลังจากที่เคยจำกัดอยู่ในวงของบุรุษ แต่บทนางเอกของเรื่องก็ยังกำหนดให้ผู้ชายแสดงอยู่ดี ส่วนผู้หญิงได้เล่นแต่บทเล็กๆ นอกจากนั้นผู้หญิงยังถูกจำกัดท่าทางการเต้นด้วยเครื่องแต่งกายที่ฟูยาว ขณะที่ผู้ชายแต่งตัวด้วยชุดรัดรูป ทำให้มีอิสระในการเคลื่อนไหวขามากกว่าไม่ว่า การหมุน การซอยเท้า การกระโดดซับซ้อนขึ้น รวมทั้งการยืนบนปลายเท้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเต้นบัลเล่ต์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้มีอิทธิพลมากในการทำให้การเต้นรำในราชสำนักกลายเป็นการเต้นรำเพื่ออาชีพ พระองค์ร่วมแสดงละครบัลเล่ต์เรื่อง “La nuit” ทั้งระดมผู้คนทั้งในราชสำนัก นักการเมือง และผู้มีพรสวรรค์ทุ่มเทพัฒนาการแสดงเต้นรำ ในค.ศ.1661 ทรงก่อตั้งสถาบันการเต้นรำอาชีพและสถาบันการดนตรีแห่งราชสำนัก และในปี 1671 จึงมีโรงเรียนสอนเต้นรำ ที่กรุงปารีส ซึ่งเปิดกว้างสู่สามัญชน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17-18 มีการก่อตั้งมูลนิธิของบัลเล่ต์ เพื่อพัฒนาการเต้นให้ดียิ่งขึ้น เช่นการใช้เท้าที่ซับซ้อนและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ขณะที่นักเต้นบัลเล่ต์หญิงเริ่มมีบทบาทเด่นมากขึ้น ในปี 1681 นักเต้นหญิงมีโอกาสขึ้นเวที โดย Marie de Carmargo เป็นหนึ่งในนักเต้นบัลเล่ต์หญิงที่มีชื่อเสียงด้านระบำปลายเท้าที่ว่องไวและซับซ้อน เธอยังเป็นผู้ที่ตัดกระโปรงบัลเล่ต์ให้สั้นลง 2-3 นิ้ว เพื่อให้เต้นสะดวกขึ้น การปฏิวัติของมารีไม่ได้รับการยอมรับนัก กระทั่ง 50 ปีผ่านไป ในปีค.ศ.1760 ผู้เชี่ยวชาญบัลเล่ต์เริ่มตั้งคำถามถึงข้อจำกัดซึ่งยึดหลักศิลปะ และข้อจำกัดที่ไม่จำเป็น ปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการคือ ฌอง จอร์จ โนแวร์ ผู้เสนอแนวคิดการพัฒนาบัลเล่ต์ให้เป็นแบบฉบับศิลปะที่เป็นจริงเป็นจัง เพราะเห็นว่าบัลเล่ต์ควรเป็นวิธีที่ใช้แสดงความคิดทางละครผ่านทางการผสมผสานที่สมบูรณ์แบบของการเต้นรำ ละคร และตัวละคร เขาแลกเปลี่ยนความคิดของเขากับนักเรียน นักเต้นรำ และผู้ออกแบบท่าเต้นในเวลานั้น แต่มีอยู่เพียงท่านเดียวที่นำแนวความคิดของโนแวร์ไปปฏิบัติคือ โดแบร์วาล ผู้ออกแบบท่าเต้นทิ่ยิ่งใหญ่ เขาออกแบบท่าเต้นรำและสร้างตัวละครสามัญชนในละครเรื่อง La Fille Mal Garde ปีค.ศ.1789 ปัจจุบันบัลเล่ต์มีผู้ชมจำนวนกว้างขึ้น และมีหลากหลายเรื่องที่เล่น ได้แก่ Swan Lake (หงส์เหิน) Sleeping Beauty (เจ้าหญิงนิทรา) The Nutcracker , Carmen ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพลงคลาสสิคของไชคอสสกีในการบรรเลง บริบทของนาฎศิลป์ร่วมสมัย (Contemporary Dance) นาฏศิลป์ร่วมสมัย(Contemporary Dance) หรือที่ชาวอเมริกันเรียกว่านาฏศิลป์สมัยใหม่ (Modern Dance) นั้น คงเป็นเพราะว่าในช่วงศตวรรษที่ 19 นั้นเป็นช่วงเวลาที่ศิลปะสมัยใหม่(Modernism) ได้เข้ามามีบทบาทเพื่อตอบสนองความต้องการจำเพาะของคนในยุคนั้น โดยเริ่มที่ฝรั่งเศสและกระจายไปทั่วยุโรปและอเมริกา ซึ่งลักษณะของโมเดิรน์นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่มีความพิเศษที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง โดยไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบงานแบบแผนเดิม ๆ เพราะการออกแบบนั้นจะคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นหลักที่มีคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งก็ตรงกับรูปแบบการเต้นรำที่ถือกำเนิดขึ้นใหม่ในเวลานั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นต้นกำเนิดของการเต้นในรูปแบบนาฏศิลป์สมัยใหม่นี้เนื่องจากกลุ่มคนที่อยู่ในแวดวงการเต้นรำในช่วงเวลานั้นประสบกับปัญหาในการสร้างสรรค์งานที่ต้องการให้ผลงาน สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกภายในมากกว่าเรื่องของเทคนิคการเต้นอย่างมีแบบแผนของบัลเล่ต์(Classical Ballet) ซึ่งถือกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส และกลุ่มประเทศทางยุโรป และในช่วงเวลานั้นสังคมของคนอเมริกันมีความตื่นตัวในเรื่องของกระแสการรักชาติอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเมืองในขณะนั้น จึงทำให้ไม่ยอมรับวัฒนธรรมหรือสิ่งต่าง ๆ ที่หลั่งไหลมาจากยุโรปโดยสิ้นเชิง แต่ในบางกระแสก็กล่าวว่าอาจเป็นเพราะกลุ่มผู้ฝึกสอนบัลเล่ต์(Ballet Master) ต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศยุโรป ไม่เคยยอมรับนักแสดงหรือคณะแสดงการแสดงบัลเล่ต์ที่จัดสร้างขึ้นโดยคนอเมริกันสักที จึงทำให้สังคมการเต้นในอเมริกันเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ และได้เริ่มมีการเปิดภาควิชานาฏยศิลป์ (Department of Dance) เป็นครั้งแรกในสถาบันการศึกษาของสหรัฐอเมริกา และกลายเป็นจุดรวมของวิทยาการทางด้าน Dance ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้บุกเบิกที่สำคัญในการเต้นแบบโมเดิร์นในยุคแรกเริ่มคือ อิซาดอรา ดันแคน ( Isasara Duncan) เจ้าของทัศนคติ “Free Spirit” ที่ทุกคนยอมรับ เธอเกิดในซานฟรานซิสโก และไม่ปรากฏหลักฐานว่าเคยเข้าเรียนในโรงเรียนเต้นรำใดมาบ้าง แต่เธอได้เคยกล่าวไว้ว่า “เธอเริ่มเต้นรำตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา” เธอเริ่มชีวิตการเป็นนักเต้นโชว์ในเมืองชิคาโก ในปี ค.ศ. 1900 ภายใต้การอุปถัมภ์ของผู้จัดการโรงละครชื่อออกูสติน ดาลี และเมื่อเธอได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานจากการไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แห่งกรุงลอนดอนเธอได้เกิดความประทับใจและซึมซับเอาศิลปวัฒนธรรมของกรีกโบราณ มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานของเธอหลายต่อหลายครั้ง การแสดงของเธอจะมีรูปแบบการเต้นที่ค่อนข้างจะเป็นแบบฉบับของเธอเองมาก และมีความเป็นส่วนตัวมากจนไมมีใครสามารถสืบทอดศิลปะของเธอได้ มีลักษณะการเต้นที่ดูเหมือนจะไม่เป็นระบบและมีท่าที่ซ้ำไปซ้ำมา บ่อยครั้งงานของเธอจะมีลักษณะท่าเต้นที่ดูเรียบง่าย แสดงกับเวทีที่เปล่าเปลือย มักจะมีฉากสีน้ำเงินปิดหลัง ออกแบบเครื่องแต่งกายการแสดงอย่างง่าย ๆ คล้ายชุดกรีกโบราณ เต้นด้วยเท้าเปล่า ทำให้ผู้ชมในสมัยนั้นส่วนใหญ่ยังรับไม่ได้เพราะต่างก็ไม่เคยเห็นมาก่อน ดนตรีประกอบมักจะใช้ผลงานของ ริชาร์ด วากเนอร์, คริสตอฟ วิลลิบัลต์, กลูค ลุควิก ,ฟานเบโทเฟน , และ ปีเตอร์ อีลิทซ์ ไซคอฟกี ในงานของเธอมีลักษณะที่เป็นลีลาการแสดงออกของอารมณ์ประกอบผลงานเพลงของคีตกวี งานของเธอมีความเป็นศิลปะบริสุทธิ์สูงและมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง ในช่วงสุดท้ายของชีวิตเธอได้กลับมาเปิดการแสดงที่อเมริกาซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเธอเอง แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก ในยุคสมัยต่อมาได้เกิดแบบแผนของการเต้นแบบโมเดิร์นแดนซ์ ที่กลายเป็นแบบฝึกหัดทางกายภาพเพื่อให้นักเต้นมีเทคนิคพิเศษในการเต้นรำ และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายใช้เป็นแบบอย่างในการเรียน-การสอนมาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยมีนักเต้นและผู้ออกแบบท่าเต้น คือ มาร์ธา เกรแฮม ( Martha Graham ) มาร์ธา จบการศึกษาจากโรงเรียนสอนเต้นรำที่ชื่อว่าเดนิสชอว์ ( Denisshaw ) จัดตั้งโดย รู๊ท เซนต์ เดนิส ( Ruth St. Denis )และสามีนักเต้นรำของเธอ เท็ด ชอว์ ( Ted Shawn )ซึ่งเป็นชาวอเมริกัน ในปี ค.ศ. 1914 ที่เมืองซานตา บาบารา รัฐแคลิฟอร์เนียมาร์ธาเกิดในมลรัฐเพนซิลวาเนีย ในครอบครัวของผู้ที่เคร่งในศาสนาคริสต์ฝ่าย โปรแตสแตนต์ ซึ่งใช้การปกครองโดยพระที่มีสมณศักดิ์เท่ากันหมดและเป็นผู้ที่เคร่งศาสนาในแบบเดียวกันกับคนอังกฤษ ที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการของศาสนาทางราชการในสมัยพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 1 ครอบครัวของเธอจึงได้ย้ายมาที่อเมริกา สิ่งนี้เป็นผลสะท้อนเอาความเข้มงวด ความเคร่งขรึมแสดงออกมาในงานของเธอ ความขัดแย้งระหว่างการรับผิดชอบชั่วดี กับความปรารถนาในอารมณ์แฝงอยู่ในงานหลายชิ้นของเธอ เธอได้สอดแทรกเอาอารมณ์ของความร้ายกาจอย่างขมขื่นกับการสะกดกลั้นความรู้สึกอันเกี่ยวข้องในลัทธิความเชื่อส่วนตัวของเธอไว้ในงานของเธออย่างแยบยล และที่สำคัญเธอยังได้พยายามแสดงให้คนดูเห็นหรือบอกความในใจถึงเรื่องจริงในชีวิตของเธอให้ปรากฏออกมาในงาน ซึ่งพ่อของเธอได้ให้คำยืนยันว่าเธอได้กระทำเช่นนี้ต่อเนื่องมาตั้งแต่เด็กแล้ว มาร์ธา มีความสนใจในการเต้นรำมาโดยตลอดและมีความตั้งใจว่า จะยึดการเต้นรำเป็นอาชีพ เมื่อเธอได้เห็นการแสดงของ รู๊ท เธอจึงสมัตรเข้าเรียนในโรงเรียนสอนเต้นรำของรู๊ททันทีในปี ค.ศ. 1916 ที่โรงเรียนแห่งนี้มีความพิเศษนอกเหนือจากโรงเรียนเต้นรำอื่น ๆ ในเวลานั้นคือมีการนำเอาวัฒนธรรมจากประเทศอื่น ๆ มาผสมผสานให้ออกมามีลักษณะร่วมสมัย เช่นนำสไตล์การเคลื่อนไหว ของ อียิปต์ และ อินเดียมาประยุกต์ให้เป็นท่าทางที่ร่วมสมัย และยังสอนรูปแบบการเต้นทั้งแบบเก่า และใหม่ผสมผสานกัน มาร์ธาใช้เวลาศึกษาการเต้นรำในโรงเรียนเดนิสชอว์แห่งนี้เป็นเวลา 5 ปี จากนั้นเธอจึงหารูปแบบใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการเรียนที่โรงเรียนเดนิสชอว์ สร้างสรรค์ให้เป็นรูปแบบการเต้นของเธอเอง เธอได้พัฒนาสไตล์ของเธอเองมาจนถึงจุดหนึ่งที่เธอได้ค้นพบเทคนิค”การยืด” และ “การหด”กล้ามเนื้อ (Contraction and Release ) หลังจากที่เธอได้ตั้งคณะและตระเวนเปิดการแสดงไปทั่วแล้ว ในปี ค.ศ. 1927 เธอได้เปิดโรงเรียนสอนเต้นรำร่วมสมัยของเธอพร้อม ๆ ไปกับคณะการแสดงของเธอซึ่งมีผลงานการแสดงออกมาอย่างต่อเนื่อง มาร์ธา เกรแฮม เป็นผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อประวัติศาสตร์โมเดิร์นแดนซ์ แม้มาร์ธาจะเสียชีวิตไปแล้วแต่คณะการแสดงของเธอก็ยังเปิดการแสดงต่อมา ก่อนที่จะปิดตัวลงไปกลายเป็นประวัติศาสตร์ ท่ามกลางความเสียดายของคนทั่วโลก แต่ผลงานของเธอได้ถูกนำไปเผยแพร่อย่างต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้โดยเหล่าลูกศิษย์ของเธอ และศิลปินเหล่านั้นก็ยังคงใช้วิธีการสอนที่ได้ร่ำเรียนมากับเธอต่อมาอีกด้วย เช่น เมิร์ส คันนิ่งแฮม, อีริค ฮอคกินส์, แอนนา ซากาโลว์, พอล เทลเลอร์ หรือแม้แต่นักร้องเพลงป๊อปยอดนิยมของสหรัฐอเมริกาอย่าง มาดอนน่าก็ยังเคยเป็นลูกศิษย์ของมาร์ธา เกรแฮมอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นนักร้องยอดนิยมในภายหลัง มาดอนน่าเคยกล่าวว่า ช่วงเวลาที่ได้อยู่ในคณะเต้นรำของมาร์ธา เกรแฮมเป็นช่วงเวลาที่เธอได้เรียนรู้ถึงระเบียบวินัย และสมาธิในการเคลื่อนไหว ซึ่งเธอได้นำสิ่งที่เธอศึกษามาแสดงออกถึงปรัชญาแห่งการเคลื่อนไหวในการแสดงคอนเสิร์ตของเธอได้เป็นอย่างดีการเต้นในรูปแบบโมเดิร์นแดนซ์ ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ได้มีการสร้างรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นอยู่ตลอดเวลา ในลักษณะของการทดลอง การนำเสนอแนวคิดใหม่ เทคนิคใหม่ เพื่อให้มีรูปแบบการแสดงที่แปลกใหม่อยู่เสมอ ยังมีนักออกแบบท่าเต้นและนักเต้นที่ยิ่งใหญ่อีกมากมายทำการสืบทอดพัฒนาและคลี่คลายรูปแบบการเต้นนาฏศิลป์ร่วมสมัย ไปในทิศทางที่ต่าง ๆ กัน ในประเทศแถบเอเชียเช่นญี่ปุ่น ก็มีรูปแบบการเต้นรำ การเคลื่อนไหวที่พัฒนามาจากนาฏศิลป์ร่วมสมัยในยุคแรก แต่พัฒนารูปแบบเป็นการเคลื่อนไหวที่สัมผัสกันด้วยพลังงานที่อยู่รอบ ๆ ร่างกาย เรียกเทคนิคการเต้นนี้ว่า บุตโต (Bud-toh) ที่ประเทศอินโดนีเซียได้มีการนำเทคนิคศิลปะการต่อสู้ชั้นสูงมาผสมผสานจนเกิดเป็นท่าเต้นในรูปแบบของนาฏศิลป์ร่วมสมัยที่มีชื่อท่าและเทคนิคเป็นท่าเตรียมพร้อมในการต่อสู้ เช่นรำกริช ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นท่าทางเหล่านี้ปรากฏอยู่ในกีฬาชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ปัญจะสีลัต ในการชมนาฏศิลป์ร่วมสมัยนั้น สิ่งที่ผู้ชมจะได้รับก็คือ สุนทรียภาพแห่งปรัชญา และสาร (Message) ที่สอดแทรกอยู่ในลีลาแห่งการเคลื่อนไหวนั้น และนอกจากนี้ผู้ชมจะได้รับความตื่นตา ตื่นใจจากเทคนิคและการเคลื่อนไหวของนักเต้นที่สื่อสารท่าทาง และเรื่องราวผ่านการเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบเดียวกัน บอกเล่าความหมายที่ต้องการสื่อให้ผู้ชมเกิดกระบวนการทางความคิดและตีความหมายของท่าทางนั้น ๆ ให้ออกมาเป็นเรื่องราวตามประสบการณ์การดำเนินชีวิตและภูมิหลังของผู้ชมแต่ละท่าน บางครั้งสารที่นักแสดงและผู้สร้างงานต้องการจะสื่อสารให้ผู้ชมได้รับทราบจากการแสดงอาจไม่จำเป็นต้องอยู่ในบทสรุปเดียวกัน เพราะในการแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัยครั้งหนึ่งอาจถูกตีความหมายไปได้หลายรูปแบบ แต่การแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัยที่ดีนั้นส่วนมากจะมีเนื้อหาและรูปแบบของการแสดงที่มีลักษณะแห่งความเป็นสากล อาจมีการหยิบยกเรื่องราวที่สามารถพบเห็นได้รอบ ๆ ตัวเรานำมาเสนอให้เกิดมุมมองและทัศนคติใหม่ ๆ ต่อสังคมเพื่อตีแผ่หรือสะท้อนแง่คิดแห่งเรื่องราวนั้น ๆ ให้ปรากฏต่อสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง การแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัยถือเป็นการแสดงที่ต้องประสานสัมพันธ์กับสื่อต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฉาก เทคนิค แสง เสี่ยง วัสดุ อุปกรณ์ประกอบการแสดง เวลา บรรยากาศ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นภาษาแห่งการบอกเล่าเรื่องราวร่วมกับการเคลื่อนไหวแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัยแทบทั้งสิ้น นาฏศิลป์ร่วมสมัยที่ดีจะต้องมีความร่วมสมัยที่สามารถทำให้ผู้ชมเข้าใจในสารที่ต้องการจะสื่อ การชมนาฏศิลป์ร่วมสมัยนอกจากผู้ชมจะชมเพื่อความสนุกสนานแล้ว ผู้ขมอาจจะเกิดความรู้สึกคล้อยตามชื่นชมไปกับลีลาการเคลื่อนไหวของนักเต้นที่ผ่านการฝึกฝนจนสามารถที่จะใช้ทักษะและเทคนิคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีและทำการแสดงได้อย่างระดับมืออาชีพ ร่วมกับการออกแบบลีลาจากผู้กำกับท่าเต้นผสมผสานกับเทคนิคต่าง ๆ การชมผลงานทางนาฏศิลป์สมัยใหม่จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้รับสุนทรียภาพในการเลือกชมการแสดงที่หลากหลายมากขึ้นกว่าข้อจำกัดเดิม ๆ โดยมีนาฏศิลป์ร่วมสมัยเป็นทางเลือกที่จะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้อีกทางหนึ่งนาฏศิลป์ร่วมสมัยจึงทำหน้าที่เปรียบเสมือนกระจกสองด้านที่ด้านหนึ่งส่องให้เห็นถึงความงามจากภายนอกและอีกด้านหนึ่งส่องให้เห็นถึงจิตใต้สำนึกของมนุษย์

โอเปร่า
โอเปร่า ศิลปะชั้นสูงในด้านดนตรีและการแสดง "โอเปร่า-Opera" หรือ "อุปรากร" คือละครที่มีเพลงและดนตรีเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่องราว เป็นผลรวมของศิลปะนานาชนิดเข้าด้วยกัน ตั้งแต่วรรณกรรมคือบทร้อง ด้านละครคือการแสดง การเต้นรำ และคีตกรรมคือดนตรี ตลอดระยะเวลาร่วม 400 ปีที่เกิดมีโอเปร่าขึ้น แบ่งประเภทได้ ดังนี้ 1. โอเปร่าซีเรีย Opera seria หรือ Serious opera หรือ Grand opera เป็นโอเปร่าที่ต้องตั้งใจดูอย่างมาก ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อง ไม่มีการพูดสนทนา จัดเป็นศิลปะดนตรีชั้นสูง ผู้ชมต้องมีพื้นความรู้และความเข้าใจในองค์ประกอบโดยเฉพาะด้านดนตรีเพื่อความซาบซึ้งอย่างแท้จริง เรื่องราวของโอเปร่าประเภทนี้มักเป็นเรื่องความเก่งกาจของตัวนำ หรือเรื่องโศกนาฏกรรม 2. โคมิค โอเปร่า Comic Opera โอเปร่าที่มีเนื้อเรื่องสนุกสนาน ตลก ขบขัน ล้อเลียนคนหรือเหตุการณ์ต่างๆ มีบทสนทนาแทรกระหว่างบทเพลงร้องและดนตรีที่ฟังไพเราะ ไม่ยากเกินไป 3. โอเปเรตตา-Operetta จัดเป็นโอเปร่าขนาดเบา แนวสนุกสนานทันสมัย อาจเป็นเรื่องความรักกระจุ๋มกระ** คล้ายกับโคมิค โอเปร่า บทสนทนาของโอเปเรตตาเป็นบทพูดแทนบทร้อง 4. คอนทินิวอัส โอเปร่า Continuous opera เป็นโอเปร่าที่ผู้ประพันธ์ใช้ดนตรีเชื่อมโยงเรื่องราวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่มีการร้องหรือสนทนาที่เป็นช่วงๆ คีตกวี "วากเนอร์" เป็นผู้นำและใช้เสมอในโอเปร่าที่เขาเป็นผู้ประพันธ์ การแสดงโอเปร่ามีองค์ประกอบสำคัญคือ 1. เนื้อเรื่องที่นำมาเป็นบทขับร้อง เป็นบทร้อยกรองจากตำนาน เทพนิยาย นิทานโบราณ และวรรณกรรมที่มีชื่อเสียง นำมาทำเป็นบทร้องขึ้นใหม่สำหรับแสดงอุปรากรโดยเฉพาะ มีคีตกวีแต่งทำนองดนตรี 2. ดนตรี สำหรับโอเปร่าดนตรีเป็นปัจจัยที่ทำให้มีชีวิตจิตใจ บรรเลงประกอบบทร้อยกรองซึ่งเป็นบทขับร้อง ดำเนินเรื่องและเจรจากันตลอดทั้งเรื่อง ดนตรีเป็นองค์ประกอบสำคัญจนโอเปร่าได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานของผู้ประพันธ์ดนตรี หรือคีตกวี มากกว่าที่จะคิดถึงผู้ประพันธ์เนื้อเรื่องหรือบทขับร้อง 3. ผู้แสดง นอกจากเป็นนักร้องเสียงไพเราะ ดังแจ่มใสกังวาน พลังเสียงดี แข็งแรง ร้องได้นาน ต้องฝึกฝนเป็นนักร้องอุปรากรโดยเฉพาะ แล้ว ยังต้องเป็นผู้มีฝีมือแสดงบทบาทยอดเยี่ยมด้วย เน้นเรื่องน้ำเสียง ความสามารถในการขับร้อง และบทบาท มากกว่าความสวยงามและรูปร่าง เสียงขับร้องแบ่งเป็น 6 ระดับเสียง เป็นเสียงนักร้องชาย 3 ระดับ เสียงนักร้องหญิง 3 ระดับ ประกอบด้วย ระดับเสียงสูงสุดของนักร้องหญิง (Soprano) ระดับเสียงกลางของนักร้องหญิง (Mezzo - Soprano) ระดับเสียงต่ำสุดของนักร้องหญิง (Contralto หรือ Alto) ระดับเสียงสูงสุดของนักร้องชาย (Tenor) ระดับเสียงกลางของนักร้องชาย (Baritone) และระดับเสียงต่ำสุดของนักร้องชาย (Bass) Baritone จะมีเสียงร้องที่ค่อนไปทางหนา...แต่ความหนา และความลึกของ voce di petto(chest voice) นั้นมีความต่างกัน....และเทคนิคการเปล่งเสียงนั้นจะว่าไป ก็จะแตกต่างแบบเห็นได้ชัดเวลาที่เจาะลงไปหา"repertoire" พวกบาริโทนถูกแบ่งเป็นคร่าวๆ ดังนี้ครับ........ Lyric Baritone: เป็นประเภทที่เหมาะกับบทบาทในอุปรากรขบขัน operetta ,comic opera, หรือ musical .........เสียงพูดของรีลิค บาริโทน จะไม่กังวานมากนัก(ส่วนใหญ่) จะสังเกตได้ยินregister ของเสียงพูดของพวกนี้ที่ประมาณคาง - คอ พวก รึลิค บาริโทน ก็ยังสามารถร้องเหมาะกับ lieder ทีเดียว.......บทที่เหมาะในอุปรากรก็เช่น Count (LeNozze), หรือ Figaroจากเรื่องเดียวกัน.........และก็ยังมีพวกบทในโอเปร่าของG& Sullivan ที่เหมาะมากเช่น Lord Chancellor ใน Iolanthe Dramatic Baritone เสียงจะหนักขึ้นมากว่าประเภทข้างต้น....repertoire ของเขาเป็นแบบ บารีโทน บาริโทน ...เหมาะมากๆกับบท Count LUNA (Il Trovatore) , Renato (Maschera), Giovanni(Giovanni), Rigoletto(Rigoletto) พวก Bass-Baritone ก็มีเทคนิคการร้องแบบลงเสียงได้ลึกมากๆ (ถ้าเทียบกับบาริโทนอื่น) บทของ Count Monterone (Rigoletto), Ferrando(Trovatore) หรือ.. Dr.Bartolo (Nozze di Figaro) ก็ยังได้(บางคนนึกว่าต้องเป็นนักร้องเสียงเบสเท่านั้น....

ละครบรอดเวย์ (Broadway)
บรอดเวย์ (Broadway) เป็นชื่อของถนนสายหนึ่งในเมืองนิวยอร์คประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสัญลักษณ์อันสำคัญยิ่งของเมืองในด้านของศิลปะการละครเวที อันมีรูปแบบและองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ของละครอเมริกันอย่างที่นิยมกันในตอนแรกว่า ละครเพลง(Musical Theatre) ที่มีรูปแบบการแสดง เพลงและการเต้นรำในลักษณะต่างๆ ที่กำหนดไว้อย่างตายตัวไม่ว่าจะมีการแสดงสักกี่รอบก็ตาม แม้แต่ในวงการภาพยนตร์ก็มักจะนำเรื่องราวจากละครเพลงมาทำเป็นภาพยนตร์และส่วนมากจะประสพผลสำเร็จได้รางวัลอยู่เสมอ เช่น เรื่อง Hello Dolly, West Side Story, The Sound of Music, South Pacific,The King and I, และเรื่องล่าสุดได้แก่ Chicago ความเป็นมาของละครบรอดเวย์นั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 ยุคสมัยตามลักษณะของละครเพลงที่เปลี่ยนแปลงไปโดยจะเริ่มต้นในศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาซึ่งเป็นยุคที่เริ่มมีละครเวทีเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ยุคแรก ในยุคแรกของละครเพลงที่เกิดขึ้นนี้ได้รับอิทธิพลทางการแสดงจากประเทศทางแบบยุโรป ซึ่งมีลักษณะเป็นโอเปรา (Operetta) กล่าวคือมีรูปแบบการร้องเพลงโอเปราและการแสดง อันมีเค้าโครงเรื่องที่มีลักษณะเหนือจริงมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรัก มีการเต้นประกอบการแสดงที่เรียกกันว่า โรแมนติก บัลเล่ต์ (Romantic Ballet) เช่นเรื่อง The Red Mill (1906) Naughty Marietta (1910) Sweethearts (1913) ยุคที่สอง ในยุคนี้จัดว่าเริ่มเป็นยุคของละครเวทีแบบอเมริกันโดยแท้ ทั้งรูปแบบการประพันธ์ เค้าโครงเรื่อง และองค์ประกอบต่างๆ ของละครมีลักษณะเป็นเรื่องราวของชาวบ้าน ชาวเมืองปกติ ใช้เพลงป๊อป มีการนำการเต้นรำเข้ามาประกอบ ซึ่งเป็นลักษณะการเต้นแบบอเมริกันเองกล่าวคือมีบทพูดและมีการร้องเพลง เต้นรำเพื่อเชื่อมต่อเรื่องราวจากเหตุการณ์หนึ่งไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่ง มีการเปลี่ยนฉาก มีบทชวนหัว เสียดสีล้อเลียนเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ในช่วงเวลานั้น ผู้นำการผลิตละครเพลงเวทีแบบอเมริกันในยุคนี้ได้แก่ จอร์ช แอมโคแฮน (1848-1942), เจอโรม เคิร์น (1885-1945), เออร์วิง เบอร์ลิน (1888-1985) ละครเพลงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุคนี้ได้แก่ Show boat (1927),Funny Face (1927), Roberta (1933), Annie get your guns (1946) ยุคที่สาม เนื้อหาและเรื่องราวของละครเพลงในยุคนี้เน้นการเสนอเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตจริงมากขึ้น และมีการนำเรื่องจากบทกวี วรรณคดีมาแสดงและผสมผสานเนื้อเรื่อง มีการเต้นรำมากขึ้น ทำให้ละครเพลงในยุคนี้มีลักษณะเป็นละคร (Drama) ที่สมบูรณ์มากขึ้นกว่าในยุคก่อน ผลงานเด่นในยุคนี้ได้แก่ Oklahoma! (1943) , South Pacific (1949), The King and I (1951), My Fair Lady (1956), The Sound of Music (1959)Camelot (1960), Funny Girls (1964) เป็นต้น ยุคที่สี่ เป็นยุคของรูปแบบใหม่แห่งวงการละครเพลงการนำเสนอเรื่องราวจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องราวของวีรบุรุษ ความรักความยิ่งใหญ่ตระการตาหมดไปมีการนำเสนอเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตสังคมในแง่มุมต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็น ต้องจบลงด้วยความสุข หรือเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ มีการใช้เพลงร๊อคประกอบในการแสดง เช่น Jesus Christ Superstar (1968) Grease (1972) และในยุคนี้นับเป็นการเริ่มต้นละครแบบทดลองคือมีการนำเรื่องราวที่แปลกออกไปมานำเสนอเช่นเรื่อง Cabaret (1966) เป็นเรื่องราวของร้านเหล้าในยุคสงครามโลกครั้งที่สองที่เมืองเบอร์ลินในประเทศเยอรมันนีเนื้อหาเสียดสีความโหดร้ายของสงคราม และเรื่อง Evita (1970) เป็นเรื่องราวของภรรยาจอมเผด็จการของชาวอาร์เจนตินา ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ได้รับรางวัลมากมายและกลายเป็นละครเวทีที่ได้รับความนิยมเปิดแสดงติดต่อกันเป็นเวลานาน เพลงประกอบที่ได้รับความนิยมมากจากละครทั้งสองเรื่องนี้ก็คือ Cabaret, May be this time, Don’t cry for me Argentina ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพ่อแห่งวงการละครเพลง แอนดรู ลอยด์ เว๊บเบอร์ คุณลักษณะของละครบรอดเวย์ แนวทางในการจัดทำละครบรอดเวย์เหล่านี้มักจะเป็นแนวเบาๆ เป็นส่วนใหญ่ และมีบทตลกสอดแทรกอยู่เสมอ บางครั้งละครเพลงเหล่านี้จึงเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งก็คือ ละครชวนหัว (Musical Comedy) ลักษณะเฉพาะของละครบรอดเวย์จึงจะเน้นหนักด้านเนื้อเรื่อง บทร้อง และทำนองเพลงการเต้นรำที่ใช้ประกอบเพลงซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างให้เป็นเพลง “ฮิต” บทร้องและดนตรีจึงมีความสำคัญมาก ทำให้รวมไปถึงผู้คิดท่าเต้นประกอบเพลง (Choreographer) เช่น เจอราลด์ รอบบินส์ (Jerome Robbins – West Side Story 1957), แอกเนส เดอ มิล (Agnes de Mille – Oklahoma! 1943), บ๊อบ ฟอซซี่ (Bob Fossi – Cabaret 1966) และนอกจากนี้ยังมี “หมอละคร” (Show Doctor) ซึ่งเป็นผู้ที่ช่วยแก้ไขปรับปรุงองค์ประกอบต่างๆ ของละครให้ดีขึ้น หลังจากการแสดงรอบปฐมทัศน์ซึ่งไม่ประสพความสำเร็จ เช่นเรื่อง คาเมล๊อต (Camelot) หมอละครนาม มอส ฮาร์ทได้เข้ามาปรับปรุงแก้ไข ทำให้ละครเรื่องนี้กลับมาเป็นละครเพลงบรอดเวย์ที่ประสพความสำเร็จอย่างมากเรื่องหนึ่งในเวลาต่อมา “ดารา” ก็จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างไปจากดาราโอเปรา เพราะโอเปราใช้เสียงเป็นสื่อในการแสดงแต่ละครเพลงต้องการ นางเอก หรือ พระเอก ที่ดูเหมาะสมกับบทบาทอย่างแท้จริง และดาราละครเวทีเหล่านี้มักจะกลายเป็นดาราที่มีชื่อเสียงในวงการอื่นๆ ด้วย เช่นวงการภาพยนตร์หรือ วงการโทรทัศน์ เช่น จูลี่ แอนดรูส์ (จาก The Sound of Music 1959 ทั้งจากละครเวทีและภาพยนตร์ ผลงานล่าสุดในปี 2005 แสดงเป็นท่านย่าในภาพยนตร์เรื่อง Princess Diary 1 และ 2) “เค้าโครงเรื่อง” ของละครเวทีมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะส่วนมากจะได้รับการจัดทำขึ้นโดยดูตลาดและผู้ชมเป็นแนวทางการในการผลิตละครแต่ละเรื่อง โครงเรื่องจึงแตกต่างกันไปตามแนวความนิยมของสังคมในแต่ละยุค โดยปกติจะมีลักษณะของเหตุการณ์ที่น่าจดจำ เป็นประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา เช่น Oklahoma!, Show Boat ,Music Man หรือโครงเรื่องที่มีแนวเทพนิยายในลักษณะของซินเดอเรลล่า เช่น แอนนาในเรื่องThe King and I และมาเรียในเรื่อง The Sound of Music และ อีไลซ่า ดูลิตเติลในเรื่อง My Fair Lady เค้าโครงเรื่องอีกประเภทหนึ่งคือเรื่องราวสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของสังคม เช่นเรื่อง Cabaret, West Side Story, Chicago, สุนทรีย์ของละครบรอดเวย์ ละครบรอดเวย์มีจุดประสงค์ที่จะสร้างความบันเทิงเป็นอันดับแรก ผู้สร้างสรรค์ ผู้ผลิตต้องการสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชม โดยพยายามทำให้การแสดงดูเป็นที่เข้าใจง่าย ผู้ชมสามารถรับรู้เรื่องราวที่ใกล้ตัว ทำให้รู้สึกสนุกเป็นที่ชื่นชอบ เมื่อได้รับการพัฒนารูปแบบ เนื้อหาสาระของละครมากขึ้น องค์ประกอบต่างๆ จึงเริ่มมีการสร้างสรรค์เพื่อเน้นความงามของศิลปะพัฒนาให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา จุดเด่นอีกประการหนึ่งของละครบรอดเวย์ที่ผู้ชมมักคาดหวังจากผู้จัดเสมอได้แก่ ฉาก และเครื่องแต่งกายอันตระการตา ผสมผสานกับพื้นฐานสำคัญในเรื่องการสร้างสรรค์เพลง และดนตรี รวมทั้งการเต้นที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับเนื้อหาของเรื่อง ประกอบกับแสง สี เสียง และเทคนิคของการจัดฉาก การเปลี่ยนฉาก และความสดในการแสดงของนักแสดงที่มีความสามารถสูงทั้งในด้านการร้องเพลง การเต้นรำทำให้ละครบรอดเวย์เป็นที่ประทับใจในเรื่องของความแปลกใหม่ และเนื้อเรื่องของละครที่เป็นเรื่องใกล้ตัว ทำให้ผู้ชมสามารถติดตามเรื่องราวได้อย่างตลอด ดังตัวอย่างของละครบรอดเวย์ยอดนิยมเรื่อง The King and I เป็นละครบรอดเวย์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตลอดกาล ตั้งแต่เริ่มแสดงครั้งแรกในปี 1951 แสดงติดต่อกัน 1,246 รอบ นักแสดงนำฝ่ายชายคือยูล บรินเนอร์แสดงนำทั้งหมด 4,625 รอบ ปัจจุบันละครบรอดเวย์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนไม่สามารถสรุปได้ว่าจะมีจุดสูงสุดอยู่ที่ไหน เพราะมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาปรับใช้ให้เข้ากับเรื่องราวและเหตุการณ์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครื่องยิงเลเซอร์ เครื่องสร้างภาพ 3 มิติ เครื่องสร้างปรากฏการณ์ธรรมชาติเทียม ทำให้ละครดูสมจริงสมจังมากขึ้นทุกที เป็นจุดเด่นที่ทำให้ผู้ชมชื่นชอบละครบรอดเวย์มาโดยตลอด ละครบรอดเวย์ทุกเรื่องก่อนที่จะนำมาแสดงที่โรงละครบนถนนบรอดเวย์ มักจะมีการทดลองแสดงตามที่ต่างๆ ก่อนและมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆ ตามความคิดเห็นของผู้กำกับ ผู้ประพันธ์ดนตรี ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง และผู้สร้างสรรค์ท่าเต้นตลอดจนทีมงานทุกคน ทำให้ละครเพลงได้รับการแก้ไขจนดูดี แล้วจึงนำมาแสดง ณ โรงละครบนถนนบรอดเวย์ ทำให้ละครบรอดเวย์มีคุณค่าและได้รับการยอมรับในเชิงศิลปการแสดงอย่างภาคภูมิ สุนทรีย์ของละครเพลงบรอดเวย์จึงอยู่ที่ความงดงามของตัวละครในขณะที่ทำการแสดง และอยู่ที่ความชื่นชมในคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างไม่น่าเชื่อว่า มนุษย์จะสามารถทำได้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น